ฟักข้าว (Gac) ผลไม้พื้นบ้านที่ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในซุปเปอร์ฟรุต (Superfruit)



ฟักข้าว (Gac) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Momordica cochinchinensis Spreng. เป็นพืชไม้เลื้อยพื้นบ้านที่สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน เช่น แถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเวียดนาม จีน ไทย และอินเดีย และถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่  ฟักข้าวนั้น ถูกพิจารณาจัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ที่เป็นซุปเปอร์ฟรุต (superfruit) เนื่องด้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) รวมถึงสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง เช่น วิตามิน แร่ธาตุ เส้นใย รวมถึงสารพฤกษเคมี (phytonutrients) อื่นๆ เป็นต้น นับตั้งแต่อดีตในแถบเอเชียฟักข้าวถูกใช้เป็นสีผสมอาหารธรรมชาติในตำหรับอาหารพื้นเมือง นอกจากนี้ เมล็ดของฟักข้าวยังถูกนำมาใช้ในตำหรับยาแผนโบราณในการรักษาโรคต่างๆ เช่น ภาวะเต้านมอักเสบ (mastitis) ฝีหนอง (boils) และผิวหนังอักเสบเป็นหนอง (pyodermas) เป็นต้น (Huang et al., 1999; Zhao et al., 2012)

ในผลของฟักข้าวโดยเฉพาะส่วนเปลือก และเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นส่วนที่อุดมไปด้วยสารสำคัญต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะสารพฤกษเคมีในกลุ่มแคโรทินอยด์ (carotenoids) เช่น เบต้า-แคโรทีน (β-carotene) ไลโคปีน (lycopene) และลูทีน (lutein) ซึ่งมีสรรพคุณที่โดดเด่นในการใช้บรรเทาอาการป่วยเกี่ยวกับตา (eye diseases) ที่มีสาเหตุมาจากการขาดวิตามินเอ มะเร็งบางชนิด (cancers) โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) สารกลุ่มแคโรทินอยด์เหล่านี้ยังสามารถทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย (Aoki et al., 2002; Chuyen et al., 2015; Do et al., 2019; Kubola and Siriamornpun, 2011; Niizu and Rodriguez-Amaya, 2005) มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าฟักข้าวมีปริมาณเบต้า-แคโรทีน และไลโคปีนสูงกว่าทั้งแครอท และมะเขือเทศซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพืชที่มีปริมาณของแคโรทีนอยด์เหล่านี้สูง (Müller-Maatsch et al., 2017) ยิ่งไปกว่านั้นแล้วในผลของฟักข้าวก็ยังพบแคโรทินอยด์อื่นๆ เช่น ซีแซนทีน (zeaxanthin) และเบต้า-คริปโตแซนทีน (β-cryptoxanthin) (Aoki et al., 2002) ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมให้ฟักข้าวเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพทางโภชนเภสัช (Nutraceuticals) ที่สูงอีกด้วย

นอกจากนี้ ในหลายงานวิจัยยังพบว่า ผลสดของฟักข้าวยังประกอบไปด้วยน้ำมันเข้มข้นสูงซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญของกรดไขมันที่สำคัญหลายชนิด ในงานวิจัยเหล่านี้พบทั้งกรดสเตียริก (stearic acid) กรดลิโนเลอิก (linoleic acid) กรดโอเลอิก (oleic acid)  และกรดปาล์มิติก (palmitic acid) ในส่วนของเหยื่อหุ้มเมล็ด และในเมล็ดฟักข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดโอเลอิก และกรดลิโนเลอิก ที่เป็นกรดไขมันสำคัญที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพในการลดแอลดีแอล-คอเลสเตอรอล (LDL-cholesterol) และฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (anti-atherogenic effects) (Lopez-Huertas, 2010; Pariza, 2004) ส่งผลให้ร่างการดูดซึมไขมันเลวได้น้อยลงและดูดซึมไขมันดีได้ดีขึ้น ในฟักข้าวยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามินอี และสารพฤกษเคมีกลุ่มอื่นๆ เช่น สารกลุ่มฟีนอลิก (phenolic compounds) (Bharathi et al., 2014; Do et al., 2019; Kubola and Siriamornpun, 2011) ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่มักจะพบในผักผลไม้สีเขียวด้วยเช่นกัน ด้วยการที่ฟักข้าวเป็นแหล่งของสารอาหารและสารโภชนเภสัชที่หลากหลายและมีศักยภาพสมกับที่ถูกยกให้เป็นหนึ่งในซุปเปอร์ฟรุต จึงไม่น่าแปลกใจที่สารสกัดน้ำมันฟักข้าวเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมที่ตลาดได้ให้ความสนใจและถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเติบโตขึ้นในอนาคต

เรียบเรียงโดย ทีมวิจัย บริษัท อยู่ นาน นาน จำกัด
เอกสารอ้างอิง

Aoki, H., Kieu, N.T.M., Kuze, N., Tomisaka, K., Chuyen, N. Van, 2002. Carotenoid Pigments in GAC Fruit (Momordica cochinchinensis SPRENG). Biosci. Biotechnol. Biochem. 66, 2479–2482. https://doi.org/10.1271/bbb.66.2479

Bharathi, L.K., Singh, H.S., Shivashankar, S., Ganeshamurthy, A.N., Sureshkumar, P., 2014. Assay of Nutritional Composition and Antioxidant Activity of Three Dioecious Momordica Species of South East Asia. Proc. Natl. Acad. Sci. India Sect. B Biol. Sci. 84, 31–36. https://doi.org/10.1007/s40011-013-0205-7

Chuyen, H. V, Nguyen, M.H., Roach, P.D., Golding, J.B., Parks, S.E., 2015. Gac fruit (Momordica cochinchinensis Spreng.): a rich source of bioactive compounds and its potential health benefits. Int. J. Food Sci. Technol. 50, 567–577. https://doi.org/https://doi.org/10.1111/ijfs.12721

Do, T.V.T., Fan, L., Suhartini, W., Girmatsion, M., 2019. Gac (Momordica cochinchinensis Spreng) fruit: A functional food and medicinal resource. J. Funct. Foods 62, 103512. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.jff.2019.103512

Huang, B., Ng, T.B., Fong, W.P., Wan, C.C., Yeung, H.W., 1999. Isolation of a trypsin inhibitor with deletion of N-terminal pentapeptide from the seeds of Momordica cochinchinensis, the Chinese drug mubiezhi. Int. J. Biochem. Cell Biol. 31, 707–715. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/S1357-2725(99)00012-6

Kubola, J., Siriamornpun, S., 2011. Phytochemicals and antioxidant activity of different fruit fractions (peel, pulp, aril and seed) of Thai gac (Momordica cochinchinensis Spreng). Food Chem. 127, 1138–1145. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.foodchem.2011.01.115

Lopez-Huertas, E., 2010. Health effects of oleic acid and long chain omega-3 fatty acids (EPA and DHA) enriched milks. A review of intervention studies. Pharmacol. Res. 61, 200–207. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.phrs.2009.10.007

Müller-Maatsch, J., Sprenger, J., Hempel, J., Kreiser, F., Carle, R., Schweiggert, R.M., 2017. Carotenoids from gac fruit aril (Momordica cochinchinensis [Lour.] Spreng.) are more bioaccessible than those from carrot root and tomato fruit. Food Res. Int. 99, 928–935. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.foodres.2016.10.053

Niizu, P.Y., Rodriguez-Amaya, D.B., 2005. New data on the carotenoid composition of raw salad vegetables. J. Food Compos. Anal. 18, 739–749. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.jfca.2004.09.001

Pariza, M.W., 2004. Perspective on the safety and effectiveness of conjugated linoleic acid1234. Am. J. Clin. Nutr. 79, 1132S-1136S. https://doi.org/https://doi.org/10.1093/ajcn/79.6.1132S

Zhao, L.-M., Han, L.-N., Ren, F.-Z., Chen, S.-H., Liu, L.-H., Wang, M.-X., Sang, M.-X., Shan, B.-E., 2012. An Ester Extract of Cochinchina Momordica Seeds Induces Differentiation of Melanoma B16 F1 Cells via MAPKs Signaling. Asian Pacific J. Cancer Prev. 13, 3795–3802. https://doi.org/10.7314/apjcp.2012.13.8.3795